โทไค มิวสิค (กรุงเทพ) TOKAI MUSIC ร้านขายเครื่องดนตรีมือสอง ของแท้ นำเข้า คัดคุณภาพ ประกัน 1 เดือน

บทความ

ระบบไฟฟ้ากับระบบเสียง โดย อ.วิริยะ

13-01-2555 12:57:50น.

เสียงทั้งหมดที่เราได้ยินจากลำโพงของชุดเครื่องเสียง แหล่งกำเนิดของพลังงานเสียงเหล่านี้ได้มาจากพลังงานต้นกำเนิดคือ "พลังงานไฟฟ้า"
ดังนั้นเมื่อระบบไฟฟ้ามีปัญหาเช่นไฟตก ไฟเกิน ไฟกระพริบ หรือไฟดับ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเสียงได้ทั้งสิ้น
ในการจัดระบบเสียงจึงต้องมีระบบไฟฟ้าที่มั่นคงไม่มีปัญหา การจัดระบบเสียงขนาดใหญ่ที่ต้องการปริมาณพลังงานไฟฟ้ามากจึงต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแยกต่างหากจากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าในท้องถิ่นนั้น

อย่างไรก็ตามในการจัดงานระบบเสียงนอกสถานที่บางพื้นที่ จะมีข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้เราไม่สามารถใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้
ปัญหาที่เกิดในระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นแรงดันไฟฟ้าตกต่ำกว่าจุดที่อุปกรณ์เครื่องเสียงบางชิ้นจะทำงานได้ แต่ถ้าไฟดับก็ตัวใครตัวมันหรือหาเครื่องปั่นไฟมาใช้

ในกรณีแรงดันไฟฟ้าตก จะมีอุปกรณ์ช่วยปรับระดับแรงดันให้สูงขึ้น หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "หม้อเพิ่มไฟ" (แต่คนที่มีไฟลดลงต้องใช้หม้ออีกแบบมาช่วยเพิ่ม)

1. SLIDE REGULATE TRANSFORMER ดังแสดงในรูปเป็นหม้อแปลงแบบปรับแรงไฟออกได้แบบต่อเนื่อง หม้อแปลงปรับแรงดันแบบนี้จะปรับแรงดันไฟออกได้ตั้งแต่ 0-260 V โดยใช้มือปรับได้แบบต่อเนื่องไม่ขาดตอน ซึ่งเป็นข้อดีของหม้อเพิ่มไฟแบบนี้แต่มีข้อเสียคือราคาแพงจึงไม่ค่อยนิยมใช้

2. STEP UP-DOWN TRANSFORMER เป็นหม้อแปลงสำหรับปรับเพิ่มแรงดันไฟฟ้า เป็นแบบที่นิยมใช้กันในวงการเครื่องเสียงมากที่สุด เพราะมีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับแบบอื่นที่ขนาดการจ่ายกระแสได้เท่ากัน ส่วนมากจะใช้ขนาด 80A ขึ้นไป
ข้อเสียของหม้อเพิ่มไฟแบบนี้คือจะมีกระแสไฟขาดตอนเมื่อทำการปรับเปลี่ยนระดับแรงดัน ซึ่งผลที่ตามมาเช่นคอมฯ หยุดทำงาน โปรแกรมที่ตั้งไว้เปลี่ยน แต่ที่จะมีปัญหาต่อระบบเสียงมากที่สุดคือการกระชากของกระแสไฟต่ออุปกรณ์จะเกิดเสียงดัง ปุ๊กปั๊กออกทางลำโพงอาจทำให้ลำโพงหรือเครื่องเสียหายได้

3. Uninterruptible Power Supply : UPS เป็นเครื่องสำรองพลังงานไฟฟ้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการทำงานอยู่ 2 ส่วนในเครื่องเดียวกัน คือปรับระดับแรงดันไฟฟ้าด้านขาออกแบบอัตโนมัติ (Stabilizer) และสำรองพลังงานไฟฟ้า(UPS)
3.1 Stabilizer การทำงานจะประกอบด้วยวงจรตรวจสอบระดับแรงดันไฟฟ้าด้านไฟเข้าและหม้อแปลงที่จะจ่ายแรงดันไฟออกให้มีแรงดันคงที่ที่ 220 โวลท์ เมื่อแรงดันไฟฟ้าของระบบอยู่ในช่วงระหว่าง 168-250 โวลท์
3.2 UPS ส่วนนี้จะทำงานเมื่อแรงดันไฟฟ้าของระบบตกต่ำกว่า 168 โวลท์และเมื่อแรงดันไฟฟ้าของระบบสูงกว่า 250 โวลท์ การทำงานจะมีวงจรที่เรียกว่า "INVERTER" จะทำการแปลงไฟจากไฟกระแสตรงที่ได้จากแบตเตอรี่ให้เปลี่ยนเป็นไฟกระแสสลับ 220 โวลท์เพื่อนำไปจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่อไป

ข้อดีของการใช้ UPS คือ
1. ช่วยรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์ให้คงที่
2. จ่ายไฟฟ้าสำรองเมื่อแรงดันไฟฟ้าของระบบตกต่ำกว่าค่าที่กำหนด
3. จ่ายไฟฟ้าสำรองเมื่อแรงดันไฟฟ้าของระบบสูงเกินกว่าค่าที่กำหนด
4. จ่ายไฟฟ้าสำรองเมื่อไฟฟ้ากระพริบหรือดับ

ข้อเสีย
1. ราคาแพง
2. ต้องมีการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อหมดอายุ

UPS ขนาด 500VA เครื่องนี้ใช้แบตเตอรี่แรงดัน 12 V กระแส 7.5 AH
AH หมายถึงความสามารถในการจ่ายกระแสได้เป็นแอมป์ต่อชั่วโมง

UPS ขนาด 1000 VA เครื่องนี้ใช้แบตเตอรี่แรงดัน 12 V กระแส 7.5 AH จำนวน 4 ลูก ต่ออนุกรมกันซึ่งจะได้แรงดันเป็น 48VDC

ข้อดีของการใช้แรงดันไฟตรงสูงคือจะทำให้ วงจรอินเวอร์เตอร์กินกระแสน้อยลงขณะทำงาน เช่นถ้าUPS ที่มีขนาด VA เท่ากัน จะได้อัตราส่วนในการแปลงแรงดันคือ

220V/12V = 18 เท่า
220V/48V = 4.6 เท่า

ดังนั้น UPS ที่ใช้แบตเตอรี่แรงดันสูงกว่าจะสำรองพลังงานไฟฟ้าได้นานกว่า

ชุดอุปกรณ์คอนโซลในแร็คทั้งหมด(ยกเว้นเพาเวอร์แอมป์)+MIX Live 4 16Ch+SC-88Pro+R8mkII+XP10+Comp 2 ชุด+หลอดไฟ CF25W+จอมนิเตอร์+เครื่องรับไมค์ลอย+MD+EQ ชุดเสียงมอนิเตอร์+Controler BOSE 802
ใช้ UPS ขนาด 1000VA เครื่องนี้เครื่องเดียวเกินพอครับ

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์บางตัวเมื่อแรงดันไฟฟ้าตก คือเครื่องหยุดทำงาน หรือทำงานผิดปกติ เช่นของยี่ห้อ Alesis บางรุ่นเช่น D4, DM5, MidiVerb 4, Compressor เป็นต้น
เป็นปัญหามาจากหม้อแปลงที่ติดมากับเครื่อง ให้สังเกตุค่าแรงดันไฟที่ใช้กับอะแดปเตอร์ตัวนี้
ระบุที่ INPUT 240V
ดังนั้นเมื่อนำอะแดปเตอร์ตัวนี้มาใช้กับไฟ 220V ในเมืองไทยจึงทำให้แรงดันไฟที่ไปเข้าหม้อแปลงถูกลดลงไป 20V เป็นผลทำให้ด้านไฟออกลดลงไปด้วย
และเมื่อมาเจอกับสภาพแรงดันไฟตกในบางพื้นที่เมื่อไปออกงานที่ไฟตกต่ำกว่า 220V ก็ยิ่งทำให้แรงดันไฟด้านออกจากอะแดปเตอร์นี้ลดต่ำลงไปอีก จนเครื่องทำงานไม่ไหวจนหยุดทำงานไปในที่สุด

ทางแก้คือใช้หม้อแปลงหรืออะแดปเตอร์ที่เหมาะสมกับแรงดันไฟของไทยคือ 220V

เป็นวงจรภาคจ่ายไฟของ Alesis DM5 ครับ
จะเห็นว่าวงจรใช้ไฟ +5V,-5V โดยนำแรงดันไฟเอซี 9V มาจากเอซีอะแดปเตอร์ แล้วมาแปลงภายในเครื่องตามที่เห็นอุปกรณ์ในรูปซึ่งมีการเผื่อค่าแรงดันไฟเข้า(9V)และไฟออก(5V)เอาไว้น้อยมาก
จึงมักมีปัญหาต่อการทำงานของเครื่องเมื่อไฟตก(รวมทั้ง D4 ด้วย)

รูปนี้เป็น Multi Effect ยี่ห้อ Alesis รุ่น MidiVerb 4 ผมได้จัดการเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่เป็นของไทย ไฟเข้า 220V ไฟออก 9V แล้วจัดการใส่ไว้ในเครื่อง ใช้งานได้ดีไม่ปัญหาครับ

Alesis รุ่น DM5 แผงวงจรเต็มพื้นที่ต้องให้หม้อ..แปลงอยู่ข้างนอก