คีย์บอร์ดกับอิเล็คโทนต่างกันอย่างไร
(โดย เดอะลุง)
มีน้องๆเขาถามถึงคีย์บอร์ดกับอิเล็คโทนต่างกันอย่างไร ก็เลยเอาตอบกระทู้ของเดอะไฮปาร์กด้วยเลย คีย์บอร์ด (Keyboard) หมายถึงเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่มีแป้นกดเป็นคีย์ๆ หรือบางครั้งเรียกว่าเป็นลิ่ม ในหนังสือตำราดนตรีว่างั้น (จริงๆเขาอธิบายเป็นภาษาแบบทางการมากมายกว่านี้ แต่ผมสรุปสั้นๆง่ายๆก็แล้วกันใครอยากรู้ละเอียดต้องไปหาตำหรับตำราหนังสือมาอ่านดู) ในกลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดผมขอแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆตามประเภทดังนี้ 1. เปียโน คือเครื่องดนตรีที่มีลิ่มกดแล้วมีอุปกรณ์รู้สึกจะเป็นฆ้อนไปตีเส้นเสียงที่ทำจากโลหะทำให้เกิดเสียงขึ้นมา ก็คือเป็นเปียโนแท้ๆมีเสียงเปียโนอย่างเดียวง่ะ (ผิดถูกคนที่รู้มากกว่าก็ช่วยเพิ่มเติมด้วยครับ) เปียโนจึงเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นหลังใหญ่ ดูภูมิฐาน คนมีกะตังค์ชอบซื้อไว้เป็นเครื่องประดับคฤหาสน์ จึงเรียกเปียโนว่าเป็นหลัง(เหมือนบ้านเลยเนอะ) ส่วนเครื่องดนตรีเปียโนอีกชนิดหนึ่งจะมีรูปร่างกระทัดรัดพกพาสะดวกคล้ายๆกับคีย์บอร์ดประเภทซินธีไซเซอร์ หรือที่เรียกกันติดปากสั้นๆว่าคีย์บอร์ด(พวกเราส่วนใหญ่ในภาษานักดนตรีมักจะเรียกกันโดยรวมทั้งหมดว่าคีย์บอร์ด รวมถึงคนเล่นยังเรียกมือคีย์บอร์ดเลย 5555 เอิ๊ก) ก็คือเปียโนไฟฟ้าไงครับรูปร่างหน้าตาก็เหมือนซินธ์ฯทั่วๆไป แต่ต่างกับเปียโนเป็นหลังๆ คือเสียบไฟฟ้าเล่น และมักจะมีเสียงเปียโนอย่างเดียว และเสียงใกล้เคียงกับเปียโนแท้ๆหลังใหญ่เลย หลายๆยี่ห้อมีเปียโนไฟฟ้าออกมาหลายๆรุ่น เท่าที่พอจำได้ก็เป็น โรแลนด์ RD500 หรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เปียโนไฟฟ้าปัจจุบันได้พัฒนาเพิ่มเสียงนอกจากจะมีหน้าที่หลักเป็นเปียโนแล้วยังได้เพิ่มเสียงซินธีไซเซอร์เพิ่มเข้าไปอีก และเพิ่มระบบ MIDI ทำให้สามารถต่อพ่วงกับเครื่องดนตรีอื่นโดยระบบ MIDI ได้อีกครับ 2. คีย์บอร์ดประเภทต่อมาคือ ซินธีไซเซอร์ก็เป็นคีย์บอร์ด(ที่เรียกกัน) และที่เล่นกันอยู่ทั่วไปจนถึงขณะนี้นั่นแหละ คือเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่ออกมายุคแรกๆ เราจะเรียกกันว่าซินธีไซเซอร์หรือเรียกสั้นๆว่า ซิ้นธ์ ก็จะหมายถึงเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่เราเรียกกันติดปากนั่นแหละครับ ซิ้นธ์จะไม่มีจังหวะอัตโนมัติ(หมายถึงในส่วนของกลอง+คอร์ด+เบสเหมือนคีย์บอร์ดประเภทอิเล็คโทน) จะให้เสียงที่เลียนแบบเครื่องดนตรีจริงๆต่างๆอยู่มากกมายรวมถึงสามารถต่อกันเป็นระบบ MIDI ได้ รวมถึงมีหน่วยความจำเพิ่มเติมสามารถเสียบเพิ่มเติมได้ หรือมีช่องสำหรับเสียบฟลอปปี้ดิสก์ใช้สำหรับเก็บข้อมูล+โหลดข้อมูลได้อีกด้วย ผมเลยขอแยกคีย์บอร์ดประเภทซินธ์ ออกเป็นหัวข้อย่อยๆดังนี้ 2.1 ซินธีไซเซอร์ ประเภทซินธีไซเซอร์เพียวๆก็ตามที่บอกมาข้างบน 2.2 ซิ้นธ์ประเภท Sampler หรือแซมปลิ้ง ก็หมายถึงซินธ์ที่สามารถโหลดเสียงเครื่องดนตรีสดๆ เครื่องดนตรีจริง หรือเสียงต่างๆที่เป็นธรรมชาติ เข้ามาเก็บในเครื่องแล้วทำการปรับแต่งแล้วจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้แล้วเล่นออกมาโดยให้เสียงใกล้เคียงกับเสียงจริงมากที่สุด 2.3 ซินธีไซเซอร์ประเภท Workstation คีย์บอร์ดประเภทนี้จะมีระบบที่เรียกว่าซีเควนเซอร์ในตัว+ซินธ์อยู่ด้วย จึงทำให้นอกจะเล่นเป็นซินธ์แล้วยังสามารถบันทึกเพลงหรือที่เราเรียกกันคือตัวซีเควนเซอร์โดยระบบ MIDI คือสามารถบันทึกเพลงลงในเครื่องได้และมักจะมีอุปกรณ์ฟลอปปี้ดิสก์ หรือรุ่นที่แพงๆจะมีฮาร์ดดิสก์หรือ CD-RW สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าอีกด้วย ยังมียิบย่อยอีกหลายๆรุ่นตามแต่จะเรียกหรือแบ่งออกตามการใช้งานอีกใครมีความรู้ด้านนี้ก็เอามาแบ่งปันกันมั่งเด้อ 3. คีย์บอร์ดประเภทอิเล็คโทน หมายถึงคีย์บอร์ดที่มีเสียงเครื่องดนตรี+จังหวะ(กลอง) +เบส+คอร์ดหรือเมโลดี้ในตัวเสร็จสรรพประเภทวันแมนโชว์ เครื่องดนตรีชนิดที่มาก็คงคล้ายๆเปียโนคือค่อนข้างไฮโซเหมือนๆกัน สมัยก่อนมักจะนิยมสำหรับคุณหนูลูกคนรวยไปเรียน+หัดเล่นกัน แล้วก็ซื้อมาประดับบ้านเพราะราคาค่อนข้างแพงมากเมื่อสมัยก่อนราคาหลักหลายหมื่นไปจนถึงหลักแสนต่อ 1 เครื่อง หรือ 1 หลัง ผมขอแยกเป็น 4.1 อิเล็คโทน เป็นหลังใหญ่คล้ายๆกับเปียโน เป็นอิเล็คโทนแท้ๆ จะมีแป้นคีย์บอร์ด 2 ชั้น คือชั้นล่างหรือแถวล่างจะใช้มิอซ้ายเล่นพวกคอร์ดหรือเบสแบบออโต้ ส่วนมือขวาจะเล่นชั้นบนหรือคียบอร์ดแถวบนเล่นเมโลดี้ โซโล่ และจะมีเบสเท้าก็คือแป้นคล้ายๆกับแป้นคีย์บอร์ดแต่จะใหญ่กว่ามากใช้เท้าซ้ายกดเล่นเป็นเสียงเบสครับ ราคาสมัยก่อนก็เหยียบๆแสนก็มีครับ 4.2 อิเล็คโทนประเภทกระเป๋าหิ้ว ก็มีรูปร่างเหมือนคีย์บอร์ดประเภทซินธ์ทั่วๆไป แต่ก็จะเพิ่มระบบออโต้เบส+คอร์ด+จังหวะ(กลอง) มาให้ในตัวเสร็จ คือแป้นคีย์บอร์ดทางด้านซ้ายประมาณ 2 Octave เราสามารถปรับให้เป็นระบบออโต้คือใช้มือซ้ายกดเป็นคอร์ดก็จะมีดนตรีเล่นเป็นแบ็คอัพให้เลย ส่วนแป้นคีย์บอร์ดถัดมาก็จะใช้มือขวาเล่นเมโลดี้คือทำนองหรือโซโล่ครับ อิเล็คโทนประเภทนี้จึงเรียกเป็นอิเล็คโทนกระเป๋าหิ้วมีตั้งแต่ตัวเล็กๆสำหรับให้เด็กๆอายุ 3-5 ขวบ เล่น ยี่ห้อคาสิโอมั๊ง จนมาถึงรุ่นใหญ่ๆขึ้น และปัจจุบันก็ได้รวมเอาระบบซีเควนเซอร์เข้ามาด้วยจึงทำให้อิเล็คโทนบางรุ่นที่ราคาแพงๆก็มักจะใช้เป็นคีย์บอร์ดหรือซินธ์+อิเล็คโทน+ซีเควนเซอร์สำหรับทำเพลง+เปิดแผ่นมีดี้ไฟล์ไปในตัวเดียวเสร็จสรรพ เอาแค่นี้ก่อนนะครับ เป็นประสบการณ์ความเห็นส่วนตัวอาจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ 100เปอร์เซนต์แต่ก็เขียนมาจากประสบการณ์จริง+จากตำหรับตำราที่ศึกษามา . เอาพอหอมปากหอมคอก่อนนะ... ตอนนี้กำลังปรึกษากับเดอะไฮปาร์กอยู่ (เขาไม่ค่อยว่างเท่าไหร่ตอนนี้ก็เลิกเล่นดนตรีไปแล้ว เพราะงานเขามันยุ่งๆ ผมเองก็หยุดเล่นมาหลายปีแล้ว) ผมก็เลยคุยกันว่าอยากจะเปิดเวิร์กชอปงานดนตรีระบบ MIDI ทั้งในส่วนของการเซ็ตระบบเครื่องดนตรี MIDI ให้แก่น้องๆมือใหม่ ทั้งสมัครเล่นสมัครจริงเพื่อนๆหลานๆที่สนใจหรือที่กำลังทำวงดนตรีเล่นระบบ MIDI กันอยู่ เพื่อทำมาหากินกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบการเล่นสดอิเล็คโทน+ริธึมบอกซ์อย่าง R5 R8II R70 หรือซาวนด์โมดูลกลองต่างๆ (D4) การเซ็ทริธึมบอกซ์ กลองไฟฟ้า การปรับเสียงต่าง ๆ การแยกเสียงสแนร์ กระเดื่อง ไฮแอท ทอม ฯลฯ แยกไลน์ระบบ MULTI เพื่อแยกเข้ามิกเซอร์สามารถปรับแต่งได้ทุกชิ้น รวมถึงการแก้ไขเพลง MIDI FILE ต่างๆ และทุกๆเรื่อง เคล็ดลับเทคนิคต่างๆ เอาแบบหมดไส้หมดพุงเลย แหะๆ หากมีคนสนใจลองๆเข้ามาแสดงความเห็นด้วยนะครับ ก็อาจจะขอความอนุเคราะห์จากโทไคในการสนับสนุนเครื่องดนตรีแบบราคาพิเศษๆ 555 คือใครไม่มีอะไรสักอย่าง คอมพิวเตอร์ก็ไม่มี เราจะเซ็ทให้ทั้งหมด รวมถึงการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ จนสามารถใช้งานได้และออกรับงานได้สบายๆ และเราตั้งใจว่าจะออกไปเยี่ยมดูแลบริการถึงสถานที่จริงทุกๆจังหวัดเลยครับ (อยากท่องเที่ยวทั่วไทยอยู่แล้ว) ลองหยั่งเสียงดูก่อนนะครับ ส่วนสถานที่คงจะเป็นที่จังหวัดกำแพงเพชรนะครับ เพราะผมกับเดอะไฮปาร์กตอนนี้กินนอน+ทำมาหากินอาศัยแผ่นดินอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรครับ (คงอยู่ไปจนชีวิตจะหาไม่เพราะแม่คุณทูลหัวเป็นคนกำแพงเพชรครับ... สงสัยอยู่ยาวววววว ) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกนะครับ ....ประสบการณ์เราอาจจะไม่ถึงขั้นเรียกมืออาชีพ แต่จากประสบการ์+ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ร่วม 20 ปี เราขอเป็นคนจุดประกายให้ทุกๆท่านที่มีดนตรีในหัวใจครับ. บางส่วนทางเดอะไฮปาร์กก็ได้เข้ามาตอบไว้บ้างแล้วในเว็บบอร์ดนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่หลายๆท่านได้อ่านแล้วคงเป็นประโยชน์กันบ้างนะครับ ขอบคุณครับ +ขอขอบคุณโทไคด้วยครับ คำจำกัดความของซินธีไซเซอร์ (Synthesizer) ภาษาปะกิดเขียนผิดก็ขออภัยด้วย หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่ใช้การสังเคราะห์เสียงขึ้นมาแล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งสามารถเลียนเสียงเครื่องดนตรีต่างๆได้ใกล้เคียงเกือบทุกชนิด เสร็จแล้วจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่องครับ จึงทำให้คีย์บอร์ดประเภทซินธีไซเซอร์เป็นที่นิยมกันมาจนทุกวันนี้ เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องดนตรีที่ให้เสียงเครื่องดนตรีครบเกือบทุกชิ้นแล้ว (พอนึกออกไหมครับคือเสียงเครื่องดนตรีมันถุกเลียนแบบมาไว้หมดแล้ว เช่นคุณต้องการเสียงไวโอลินคุณไม่จำเป็นต้องไม่จ้างนักสีไวโอลินมาเล่น คุณก็เพียงแต่กดเลือกเสียงไวโอลินในซิ้นธ์ของคุณก็ได้แล้ว คุณต้องการเสียงแซกโซโฟน เสียงทรัมเป็ต เสียงเอฟเฟ็คต่างๆ คุณก็สามารถกดเลือกหาได้เลยในคีย์บอร์ดคุณตัวเดียว พอเป็นแนวบ้างนะครับ อธิบายแบบง่ายๆไม่เน้นวิชาการ อิๆๆ) ปัจจุบันมักจะรวมความสามารถด้านอื่นๆเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ซีเควนเซอร์ และอีกหลายๆความสามารถครับ หรือมีระบบอิเล็คโทนในตัว ฯลฯ . ลืมไปอีกอย่างหนึ่งครับ "ออร์แกนไฟฟ้า" ก็เป็นเครื่องดนตรีจัดอยู่ในกลุ่มของคีย์บอร์ดอีกประเภทหนึ่ง น้องๆหลานๆหลายท่านอาจไม่คุ้นเคย ถ้าคุยกันเรื่องคีย์บอร์ดแล้วไม่พูดถึง "ออร์แกนไฟฟ้า" ด้วยละก้อไม่ใช่มือคีย์บอร์ดตัวจริงเสียงจริงเลยหล่ะ น้องๆบางท่านอาจเคยได้เล่นมามั่ง เพราะออร์แกนไฟฟ้าในยุคปี 2005 นี้คงไม่มีผลิตออกมาแล้ว(เสียงออร์แกนได้ถูกเลียนเสียงและจัดเก็บไว้ในคีย์บอร์ดประเภทซินธีไซเซอร์อยู่แล้ว) เพราะก่อนที่จะมีคีย์บอร์ดประเภท ซินธีไซเซอร์(ที่เราเรียกกันติดปากว่าคีย์บอร์ดทุกวันนี้ ก็คงจะเหมือนเรียกผงซักฟอกว่าแฟ๊บ เช่นกัน 5555) ออร์แกนไฟฟ้าได้เกิดขึ้นมาก่อนเหตุผลที่เรียกว่าออร์แกนไฟฟ้าก็คงเป็นเครื่องดนตรีที่ให้เสียงออร์แกนอย่างเดียวเท่านั้น(หลายคนเคยเล่นคีย์บอร์ดแล้วเลือกใช้เสียงออร์แกนบ่อยเหมือนกันรองลงมาจากเสียงสตริงนะ) +ต้องเสียบไฟเล่นด้วย ฮ่าๆๆ ว่ากันง่ายๆ พอนึกออกนะครับเพราะว่าคีย์บอร์ดประเภทที่มีเสียงออร์แกนอย่างเดียวไม่มีผลิตแล้ว เพราะว่าหากเราต้องการเล่นออร์แกนหรือเสียงออร์แกนเราก็สามารถกดเลือกเสียงออร์แกนได้เลยจากซินธ์ที่เราใช้กันทุกวันนี้นั่นเอง ออร์แกนไฟฟ้าในสมัยก่อนๆ มีเสียงหนามากและสามารถปรับโทนเสียงหรือผสมเสียงได้หลายรูปแบบ (ผมก็เคยเล่นรู้สึกจะเป็นยี่ห้อยามาฮ่าครับ) ลองไปเปิดเพลงร็อคเก่าๆที่เป็นเพลงอมตะอย่าง Highway Star , Rock Buttom, Smoke on the water และอีกหลายๆเพลงครับ เสียงที่ใช้เล่นร่วมกับกลอง กีตาร์ เบส แล้วอีกเสียงที่ท่านได้ยินสมัยนั้นเสียงออกหนาๆ หรือบางทีเสียงออกมาแบบปั่นหมุนนั่นคือเสียงของออร์แกนไฟฟ้าครับ (ถ้าเปรียบเปียโนเป็นต้นกำเนินของเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดแบบต่างๆที่เราใช้กันทุกวันนี้ ผมถือว่าออร์แกนก็เป็นผู้ให้กำเนิดคีย์บอร์ดประเภทซินธีไซเซอร์ประเภทต่างๆ ในทุกวันนี้ด้วยเช่นกัน) โดยส่วนตัวชอบวง Deep pueple มากๆครับ เพราะว่าเสน่ห์ของวงนี้ผมว่าอยู่ที่เสียงออร์แกนของมือคีย์บอร์ด(น่าจะเรียกมือออร์แกน) วงนี้สุดยอดครับ โซโล่เป็นไฟถ้าเปรียบกับมือกีตาร์ที่สามารถโซโล่แบบเมโลดี้+เล่นริธึมหรือคอร์ดได้แน่นๆ พร้อมๆกันน่ะ. เอาแค่นี้ก่อนนะครับไว้นึกอะไรออกเดี๋ยวมาโม้ให้ฟังกันใหม่ |