MIDI คืออะไร? GM/GS/XG ต่างกันอย่างไร?
MIDI คืออะไร ?
มีอะไรอยู่ในไฟล์
ไฟล์ MIDI ไม่ได้มีการเก็บเสียงดนตรีใดๆไว้เหมือนอย่างเทปเพลงหรือซีดีเพลง ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปของคำสั่งที่จะไปสั่งเครื่อง ดนตรีว่า ให้เปล่งเสียงโน้ตตัวใด(Note ON), ด้วยระดับความดังแค่ใหน(Velocity) และคำสั่งอื่นๆ ตามคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ด้วยเหตุที่เป็นไฟล์คำสั่งนี่เองทำให้มันมีขนาดที่เล็กมากๆ แผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วเพียงแผ่นเดียวก็สามารถเก็บไฟล์ MIDI ได้หลายสิบเพลง และจากความที่มันเป็นไฟล์คำสั่งแบบดิจิตอลนี่เอง นักคอมพิวเตอร์จึงสามารถนำข้อมูลดิจิตอลนี้มาพัฒนาด้วย จนในที่สุดทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องดนตรีก็สื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์โดยผ่านระบบ MIDI นี่เอง
GM คืออะไร ?
ราวๆปี 1983 ระบบ MIDI ได้เปิดประตูแห่งการสื่อสารระหว่างเครื่องดนตรีต่างๆรวมไปถึงกับคอมพิวเตอร์ด้วยแต่ในเวลานั้นหลายๆ บริษัทที่ผลิตเครื่องดนตรีต่างก็มุ่งหน้าพัฒนาแต่ระบบของตัวเองให้มีความสามารถก้าวล้ำนำหน้าบริษัทคู่แข่งให้มากที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีขณะนั้นจะอำนวย กลายเป็นผลเสียต่อวงการดนตรีเป็นอย่างมากเพราะถ้าลองได้เลือกใช้เครื่องดนตรีของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แล้ว ก็ไม่สามารถที่จะนำเครื่องดนตรีของบริษัทอื่นๆมาร่วมใช้งานผ่านระบบ MIDI นี้ได้อีก เพราะต่างคนต่างก็มีรูปแบบในการคิดค้น และใช้งานคำสั่งต่างๆที่ไม่เหมือนกัน พูดง่ายๆก็คือหากใช้งานระบบ
จนกระทั่งในปี 1991 ได้มีการประกาศใช้มาตรฐาน เกี่ยวกับ
มาตรฐาน GM ประกอบด้วยสาระสำคัญคือ มีจำนวนเสียงเครื่องดนตรีที่เก็บเอาไว้ทั้งหมด 128 ชนิด ซึ่งจะรวมทั้งเสียงของเครื่อง ดนตรีจริงๆกับเสียงของเอฟเฟคต์ต่างๆเช่นเสียงปรบมือ เสียงฝนตก ฯลฯเอาไว้ด้วย หมายเลขของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะ เรียกว่า PATCH โดยจะมีการแบ่ง PATCH ออกเป็นกลุ่มๆดังต่อไปนี้
1. PIANO
2. CHROMATIC PERCUSSION
3. ORGAN
4. GUITAR
5. BASS
6. STRINGS
7. ENSEMBLE
8. BRASS
9. REED
10. PIPE
11. SYNTH LEAD
12. SYNTH PAD
13. SYNTH EFFECTS
14. ETHNIC
15. PERCUSSIVE
16. SOUND EFFECTS
และในแต่ละกลุ่มยังแบ่งย่อยๆไปอีกกลุ่มละ 8 ชนิด เช่น ในกลุ่มของเปียโน ก็จะมีเสียงของเปียโนชนิดต่างๆอีก 8 ชนิด หรือในกลุ่มของ BRASS ก็ประกอบด้วย ทรัมเป็ต , ทรัมโบน และเครื่องเป่าอื่นๆอีกรวม 8 ชนิด เป็นต้น
ในที่สุดเครื่องดนตรีต่างๆทั่วโลกของทุกๆบริษัทผู้ผลิตก็สามารถนำมาผสมผสานกันเพื่อใช้งานในระบบ
GS คืออะไร ?
มาตรฐาน GM ถูกใช้งานกันมานานด้วยความเรียบร้อยดี อยู่ต่อมาเมื่อบทเพลงต่างๆเริ่มต้องการเสียงที่วิจิตรพิศดารมากขึ้น บริษัทผู้ผลิตเครื่องดนตรีชั้นนำของโลกบริษัทหนึ่งที่ชื่อว่า ROLAND CORPERATION เริ่มรู้สึกว่าเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ ในมาตรฐานเดิมนั้นไม่พอใช้เสียแล้ว จึงได้ทำการเพิ่มเติมเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิดเข้าไปกับมาตรฐาน GM อีก โดยใช้ชื่อมาตรฐาน อันใหม่นี้ว่า มาตรฐาน GS ซึ่งยังคงมีกลุ่มเสียงทั้งหมด 16 กลุ่มเท่าเดิม แต่ในแต่ละกลุ่มจะมีเสียงเพิ่มเข้ามาอีก จากเดิม 128 เสียง เพิ่มมาเป็น 189 เสียง
จากความแตกต่างของ GM และ GS นี่เองทำให้เกิดปัญหาเล็กๆตามมา นั่นก็คือหากใครมีเพลงรุ่นใหม่ๆที่สร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GS แล้ว เมื่อนำไปเล่นกับเครื่องดนตรีหรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้มาตรฐาน GM อยู่อาจจะให้เสียงไม่ครบหรือไม่ถูกต้องตาม ต้นฉบับก็ได้ แต่ถ้าหากเพลงนั้นถูกสร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GM เมื่อนำไปเล่นบนเครื่องที่เป็นมาตรฐาน GS ก็ยังคงให้เสียงได้ครบถ้วนอยู่เหมือนเดิม เพราะว่าในมาตรฐาน GS ยังคงมีเสียงจากมาตรฐาน GM อยู่ครบนั่นเอง
หันมาดูทางด้านคอมพิวเตอร์ของเรากันบ้าง ดูเหมือนว่าบริษัทผู้ผลิตซาวด์การ์ดที่ใช้กับคอมพิวเตอร์จะไม่ค่อยได้ติดตามข่าวคราว ในวงการดนตรีสักเท่าไรนัก หรืออาจเป็นเพราะว่าไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ก่อนว่าจะมีใครเอาซาวด์การ์ดมาใช้เล่นเพลง เล่นดนตรีกันทั่วบ้านทั่วเมืองแบบนี้ก็ได้ เลยเป็นผลทำให้ซาวด์การ์ดจำนวนมากยังคงใช้ชิพกำเนิดเสียงเครื่องดนตรีตาม มาตรฐาน GM กันอยู่ สังเกตได้จากราคาที่ค่อนข้างถูกและมักจะชอบแถมมากับคอมพิวเตอร์ที่สั่งประกอบสำเร็จจากร้านค้า
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลยเสียทีเดียว เพราะว่าถ้าเป็นซาวด์การ์ดที่มีมาตรฐานหน่อยราคาก็มักจะสูงขึ้นตาม แต่ก็ทำให้เรามั่นใจได้ว่า มันจะสามารถให้เสียงเครื่องดนตรีที่ถูกต้องและครบถ้วนแน่นอน ตรงนี้เราต้องพิจารณากันให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ
บริษัทที่ผลิตเครื่องดนตรียักษ์ใหญ่อย่าง ROLAND CORPERATION ที่นอกจากจะมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีแล้ว ก็ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวงการคอมพิวเตอร์ด้วย โดยการผลิตซาวด์การ์ดคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐาน GS เพื่อมาใช้ กับคอมพิวเตอร์ดนตรีโดยตรง มีทั้งแบบที่เป็นเหมือนซาวด์การ์ดทั่วไปที่ต้องเสียบเข้ากับสล้อตว่างๆของคอมพิวเตอร์ , แบบที่เรียกว่า Daughterboard ที่ต้องเสียบไปบนซาวด์การ์ดตัวเดิม และแบบติดตั้งภายนอกหรือที่เรียกกันว่า"ซาวด์โมดูล"นั่นเอง
ถึงบรรทัดนี้คงจะต้องยกความดีความชอบให้กับบริษัท MICROSOFT เจ้าของระบบ WINDOWS นี้กันบ้างซึ่งก็คงจะเล็งเห็นว่าถ้าเจ้า ของคอมพิวเตอร์เครื่องใดอยากจะเล่นเพลงให้ได้เสียงเครื่องดนตรีตรงตามมาตรฐาน GS แล้วจะต้องไปหาซื้อซาวด์การ์ดที่ใช้เฉพาะกับ งานดนตรีมาเพิ่มเติม ซึ่งโดยมากมักจะมีราคาแพงพอๆกับราคาของคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องเลยทีเดียว ก็เลยได้แถมความสามารถในส่วน นี้มาพร้อมกับ WINDOWS 98 และ WINDOWS 2000 ภายใต้ชื่อว่า Microsoft GS Wavetable SW Synth โดยจะทำการคำนวณเพื่อ สร้างตารางเสียงของเครื่องดนตรีตามมาตรฐาน GS ภายในระบบวินโดวส์เอง โดยที่ไม่ต้องไปเกี่ยงซาวด์การ์ดว่าจะเป็น GM หรือ GS อีกต่อไป
XG คืออะไร ?
XG มาจากคำว่า EXTENDED GENERAL
ความต้องการที่จะบรรจุเสียงใหม่ๆลงไปในตารางเสียงนี้อีกเพื่อรองรับกับงานดนตรีของตนเอง มาตรฐาน XG จึงถือกำเนิดมาด้วย เหตุนี้ มาตรฐาน XG ยังคงใช้ได้กับมาตรฐาน GM ตัวเดิมอยู่ แต่ได้เพิ่มเติมการทำงานอีกเป็น 2 โหมด คือ
1.) โหมด XG มีเครื่องดนตรี 16 กลุ่ม เสียงทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 480 เสียง มีเสียงกลอง 9 ชุด และชุดเอฟเฟคต์อีก 2 ชุด
2.) โหมด TG3000B เป็นโหมดการใช้งานที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า GS Emulation โดยจะครอบคลุมถึงมาตรฐานเสียงใน GS FORMAT ของ ROLAND ด้วย และได้เพิ่มเติมเสียงขึ้นมาอีกเพื่อใช้กับซาวด์การ์ดและซาวด์โมดูลของ YAMAHA เองโดยเฉพาะ ยังคงมีเครื่องดนตรี 16 กลุ่ม แต่เพิ่มเสียงเป็น 579 เสียง เป็นเสียงกลอง 8 ชุด และเอฟเฟคต์ 2 ชุด
จะเห็นว่า ถ้านับรวมจำนวนเสียงเครื่องดนตรีทั้ง 2 โหมดที่สามารถทำได้แล้วก็จะมากถึง 676 เสียงเลยทีเดียว โดยรวมๆแล้ว ในมาตรฐาน XG นี้ สามารถรองรับไฟล์เพลงที่สร้างขึ้นจากมาตรฐาน GM และ GS ได้เลย ทันทีเพราะมีจำนวนเสียงเครื่อง ดนตรี ที่มากกว่า แต่แนวทางหรือสไตล์ในการสร้างเสียงของ YAMAHA ก็จะมีความเป็นของตัวเองมากอยู่สักหน่อย เมื่อนำไฟล์เพลงที่สร้าง จากเครื่องดนตรีของ ROLAND มาเล่นกับซาวด์โมดูลของ YAMAHA หรือการนำไฟล์เพลงจาก YAMAHA ไปเล่นกับซาวด์โมดูลของ ROLAND จึงอาจจะให้อารมณ์เพลงที่แตกต่างกันอยู่บ้างถึงแม้ว่าจะเป็นเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นเดียวกันก็ตาม
XF คืออะไร ?
ตอนแรกผู้เขียนคิดว่าจะปิดต้นฉบับลงแค่มาตรฐาน XG แต่แล้วหลังจากที่ได้เข้าออกเว็บไซต์ดนตรีตามที่ต่างๆ ก็เลยไปพบกับ มาตรฐานตัวใหม่ของ YAMAHA เข้าโดยบังเอิญ เลยขอถือโอกาสถอดความมาให้รู้จักกันไว้พอคร่าวๆก่อน
XF เป็นมาตรฐานทาง MIDI ที่บริษัท YAMAHA ประกาศออกมาใหม่ในปี 1998 นี่เอง ด้วยเพราะ YAMAHA เล็งเห็นว่าตลาด คอมพิวเตอร์ขณะนี้กำลังบูมสุดขีด ไฟล์ MIDI ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกับนักดนตรีอีกต่อไป มันได้รวมตัวอยู่กับโปรแกรมคาราโอเกะต่างๆ อีกทั้งซอฟท์แวร์เกี่ยวกับการสร้างเพลงต่างก็พัฒนาให้มีขีดความสามารถมาก ขึ้นพร้อมๆกับพัฒนาการใช้งานให้ง่ายดายกว่าเดิมมาก และผู้คนทั่วโลกยังนิยมดาวน์โหลดไฟล์
สิ่งที่ YAMAHA ผนวกรวมเข้าไปในไฟล์ MIDI อันดับแรกก็คือความสามารถที่จะแสดงชื่ออัลบั้ม ชื่อศิลปิน ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้เรียบเรียง ฯลฯ เรียกว่ารู้กันถึงต้นตอกันเลยทีเดียว อันดับต่อมาก็คงจะเอาใจบรรดานักดนตรีสมัครเล่นตามบ้านที่มีคอมพิวเตอร์เป็นแน่ ใครที่ชอบ ร้องเพลงพร้อมๆกับเกากีต้าร์โปร่งตัวโปรดไปด้วยก็คงจะถูกใจกันละทีนี้ เพราะว่าไฟล์ MIDI มาตรฐาน XF นี้สามารถแสดงคอร์ดไปได้ใน ตัวทันที และเมื่อเอาใจวัยรุ่นแล้วก็ต้องหันมาเอาใจวัยกลางคนกันหน่อย ไฟล์ MIDI มาตรฐาน XF ก็เลยพกพาความสามารถในการ แสดงเนื้อเพลงในรูปแบบของคาราโอเกะพร้อมสรรพไปในไฟล์เดียวด้วยเช่นกัน
สิ่งต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ถ้าเป็นไฟล์ MIDI ที่สร้างมาจากมาตรฐาน XF โดยตรงก็จะมีพร้อมมากับไฟล์
ระบบ MIDI นั้นคงพอจะเรียกได้ว่าเป็นระบบที่อมตะนิรันดร์กาลก็ได้ เพราะว่าจากอดีตถึงปัจจุบันยังไม่มีอะไรมาแทนที่ได้เช่นเดียวกับ มาตรฐานทางฮาร์ดแวร์อย่าง MPU-401 ที่รองรับระบบ MIDI นี้มาโดยตลอด แม้ว่าตัวการ์ด MPU-401เองจะไม่ค่อยพบเห็นกันบ่อยนัก แต่ซาวด์การ์ดทุกตัวก็ยังคงต้องอ้างอิงมาตรฐานของ MPU-401 นี้ต่อไป แต่ก็เคยมีบางบริษัทที่พยายามจะออกมาตรฐานใหม่เพื่อแทนที่ MIDI อยู่เหมือนกัน แต่ก็ถูกคัดค้านอย่างหนักจนต้องล้มเลิกความคิดไป ส่วนมาตรฐาน GM , GS , XG และ XF ที่ใช้งานอยู่บนระบบ MIDI นั้นยังคงมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ กันอีก ก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องติดตามกันต่อไป