ความสัมพันธ์ของดอกลำโพงกับเพาเวอร์ โดย อ.วิริยะ
ความสัมพันธ์ระหว่างลำโพงกับเพาเวอร์แอมป์มีหลายตัวแปร เช่น
กระแส (Current) หน่วยเป็น Ampre : A
แรงดัน (Voltage) หน่วยเป็น Volt : V
ความถี่ (Frequency) หน่วยเป็น Hertz : Hz
ความไว (Sensitivity) หน่วยเป็น dB-SPL : dB/W/M
อิมพีแดนซ์ (Impedance) หน่วยเป็น Ohms : ohm
กำลังขยาย (Power) หน่วยเป็น Watt :W
อัตราทนกำลัง (Power Rating) หน่วยเป็น Watt :W
ความต้านทานของสายลำโพง (Resistance) หน่วยเป็น Ohms : ohm
ฯลฯ
ตัวแปรที่มีนัยยะสำคัญระหว่างลำโพงกับเพาเวอร์แอมป์มากที่สุด
ที่ต้องนำมาพิจารณา มี 3 ประการคือ
1. ค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพง(ไม่ใช่ค่าความต้านทาน)มีหน่วยเป็น Ohms
จะระบุไว้บนตัวลำโพง โดยทั่วไปจะมีค่า 8 Ohms
ทางด้านขาออกของเพาเวอร์แอมป์จะมีค่าอิมพีแดนซ์อยู่ระหว่าง 4-16 Ohms หรือ 2-16 Ohms แล้วแต่ผู้ออกแบบ
ดังนั้นค่าอิมพีแดนซ์ที่เหมาะสมของลำโพงที่เข้ากันได้กับเครื่องขยายก็ต้องอยู่ในช่วง 4-16 Ohms หรือ 2-16 Ohms ด้วย
นั่นคือเราต้องดูที่เพาเวอร์แอมป์เสียก่อนว่าจะใช้กับลำโพง(โหลด)
ได้ต่ำสุดที่กี่โอห์ม
เราก็ต่อใช้งานโดยให้ค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพงไม่ต่ำกว่าอิมพีแดนซ์ต่ำสุดของเพาเวอร์แอมป์
เพาเวอร์แอมป์ก็จะไม่พัง จากสาเหตุจากลำโพงอิมพีแดนซ์ต่ำเกินไป
2. กำลัง(Power) มีหน่วยเป็น วัตต์ : W กำลังมีอยู่ สองส่วนคือ
2.1 กำลังของเพาเวอร์แอมป์ เป็นกำลังที่ได้จากการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นค่าทางไฟฟ้าที่ได้จาก
กำลังไฟฟ้า(P) = กระแส(I)xแรงดัน(E) หน่วยเป็น W
2.2 กำลังของลำโพง มีหน่วยเป็น วัตต์ : W (ค่านี้จะพิมพ์ติดอยู่บนตัวลำโพง) ค่านี้เป็นค่าอัตราทนกำลังของขดลวดที่ใช้พันลำโพง ซึ่งจะเป็นลวดทองแดงหรืออลูมิเนียมก็ตาม
ค่านี้จะเป็นตัวบอกว่าขดลวดที่ใช้พันลำโพงนี้ทนกำลังได้กี่วัตต์โดยไม่เสียหายด้วยการไหม้หรือขาด
"มิได้เป็นค่าที่จะบอกว่าลำโพงตัวนี้ดังกี่วัตต์" (โปรดอ่านข้อความนี้หลายๆครั้งและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้)
ลำโพงมีส่วนประกอบที่เป็นขดลวด ขดลวดของลำโพงจะถูกต่ออยู่กับเอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ผ่านทางสายลำโพง
ดังนั้นกำลังทั้งหมดจากเพาเวอร์แอมป์จะปรากฎที่ขดลวดลำโพง
ขดลวดลำโพงจึงต้องทนกำลังจากเพาเวอร์แอมป์ได้โดยไม่เสียหาย
กำลังที่ลำโพงได้รับนี้จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นความร้อนและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
สรุปในกรณีนี้ กำลังของลำโพงจึงไม่ควรต่ำกว่ากำลังของเพาเวอร์แอมป์"ที่จ่ายให้" ลำโพงจึงจะไม่ขาด
3. ความไวของลำโพง มีหน่วยเป็น dB-SPL ค่านี้เป็นค่าที่จะบอกว่าลำโพงตัวนี้มีความดังเป็นเท่าไหร่
"ความดังของเสียง มีหน่วยเป็น เดซิเบล : dB"
ความดังของเสียงที่ได้จากลำโพงก็มีหน่วยเป็น dB (โปรดอ่านหลายๆครั้ง ถ้ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านข้อ 2.2)
ค่าความไว(Sensitivity) นี้จะบอกไว้ในสเปคของลำโพง
ลำโพงที่มีค่าความไวมากเสียงจะดังมากกว่าลำโพงที่มีความไวต่ำ
เมื่อป้อนกำลังเข้าไปเท่ากัน
ข้อสรุป : เงื่อนไขเมื่อใช้งานปกติระหว่างลำโพงกับแอมป์
1. ไม่ให้ดอกลำโพงขาดก็อย่าป้อนกำลังเข้าไปให้สูงเกินกว่าอัตราทนกำลังที่ขดลวดลำโพงจะรับได้
2. ไม่ให้แอมป์พังก็อย่าต่อกับลำโพงที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่ำกว่าค่าอิมพีแดนซ์ต่ำสุดของแอมป์เครื่องนั้น
กระแส (Current) หน่วยเป็น Ampre : A
แรงดัน (Voltage) หน่วยเป็น Volt : V
ความถี่ (Frequency) หน่วยเป็น Hertz : Hz
ความไว (Sensitivity) หน่วยเป็น dB-SPL : dB/W/M
อิมพีแดนซ์ (Impedance) หน่วยเป็น Ohms : ohm
กำลังขยาย (Power) หน่วยเป็น Watt :W
อัตราทนกำลัง (Power Rating) หน่วยเป็น Watt :W
ความต้านทานของสายลำโพง (Resistance) หน่วยเป็น Ohms : ohm
ฯลฯ
ตัวแปรที่มีนัยยะสำคัญระหว่างลำโพงกับเพาเวอร์แอมป์มากที่สุด
ที่ต้องนำมาพิจารณา มี 3 ประการคือ
1. ค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพง(ไม่ใช่ค่าความต้านทาน)มีหน่วยเป็น Ohms
จะระบุไว้บนตัวลำโพง โดยทั่วไปจะมีค่า 8 Ohms
ทางด้านขาออกของเพาเวอร์แอมป์จะมีค่าอิมพีแดนซ์อยู่ระหว่าง 4-16 Ohms หรือ 2-16 Ohms แล้วแต่ผู้ออกแบบ
ดังนั้นค่าอิมพีแดนซ์ที่เหมาะสมของลำโพงที่เข้ากันได้กับเครื่องขยายก็ต้องอยู่ในช่วง 4-16 Ohms หรือ 2-16 Ohms ด้วย
นั่นคือเราต้องดูที่เพาเวอร์แอมป์เสียก่อนว่าจะใช้กับลำโพง(โหลด)
ได้ต่ำสุดที่กี่โอห์ม
เราก็ต่อใช้งานโดยให้ค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพงไม่ต่ำกว่าอิมพีแดนซ์ต่ำสุดของเพาเวอร์แอมป์
เพาเวอร์แอมป์ก็จะไม่พัง จากสาเหตุจากลำโพงอิมพีแดนซ์ต่ำเกินไป
2. กำลัง(Power) มีหน่วยเป็น วัตต์ : W กำลังมีอยู่ สองส่วนคือ
2.1 กำลังของเพาเวอร์แอมป์ เป็นกำลังที่ได้จากการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นค่าทางไฟฟ้าที่ได้จาก
กำลังไฟฟ้า(P) = กระแส(I)xแรงดัน(E) หน่วยเป็น W
2.2 กำลังของลำโพง มีหน่วยเป็น วัตต์ : W (ค่านี้จะพิมพ์ติดอยู่บนตัวลำโพง) ค่านี้เป็นค่าอัตราทนกำลังของขดลวดที่ใช้พันลำโพง ซึ่งจะเป็นลวดทองแดงหรืออลูมิเนียมก็ตาม
ค่านี้จะเป็นตัวบอกว่าขดลวดที่ใช้พันลำโพงนี้ทนกำลังได้กี่วัตต์โดยไม่เสียหายด้วยการไหม้หรือขาด
"มิได้เป็นค่าที่จะบอกว่าลำโพงตัวนี้ดังกี่วัตต์" (โปรดอ่านข้อความนี้หลายๆครั้งและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้)
ลำโพงมีส่วนประกอบที่เป็นขดลวด ขดลวดของลำโพงจะถูกต่ออยู่กับเอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ผ่านทางสายลำโพง
ดังนั้นกำลังทั้งหมดจากเพาเวอร์แอมป์จะปรากฎที่ขดลวดลำโพง
ขดลวดลำโพงจึงต้องทนกำลังจากเพาเวอร์แอมป์ได้โดยไม่เสียหาย
กำลังที่ลำโพงได้รับนี้จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นความร้อนและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
สรุปในกรณีนี้ กำลังของลำโพงจึงไม่ควรต่ำกว่ากำลังของเพาเวอร์แอมป์"ที่จ่ายให้" ลำโพงจึงจะไม่ขาด
3. ความไวของลำโพง มีหน่วยเป็น dB-SPL ค่านี้เป็นค่าที่จะบอกว่าลำโพงตัวนี้มีความดังเป็นเท่าไหร่
"ความดังของเสียง มีหน่วยเป็น เดซิเบล : dB"
ความดังของเสียงที่ได้จากลำโพงก็มีหน่วยเป็น dB (โปรดอ่านหลายๆครั้ง ถ้ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านข้อ 2.2)
ค่าความไว(Sensitivity) นี้จะบอกไว้ในสเปคของลำโพง
ลำโพงที่มีค่าความไวมากเสียงจะดังมากกว่าลำโพงที่มีความไวต่ำ
เมื่อป้อนกำลังเข้าไปเท่ากัน
ข้อสรุป : เงื่อนไขเมื่อใช้งานปกติระหว่างลำโพงกับแอมป์
1. ไม่ให้ดอกลำโพงขาดก็อย่าป้อนกำลังเข้าไปให้สูงเกินกว่าอัตราทนกำลังที่ขดลวดลำโพงจะรับได้
2. ไม่ให้แอมป์พังก็อย่าต่อกับลำโพงที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่ำกว่าค่าอิมพีแดนซ์ต่ำสุดของแอมป์เครื่องนั้น